- วัน เดือน ปี พ.ศ. ที่เข้าเรียนและจบการศึกษา
- ชื่อเต็มวุฒิการศึกษา สาขาวิชา หรือสายการเรียน เช่น วิทย์-คณิต ศิลป์-ภาษา
- ชื่อสถานที่ศึกษาที่จบมาหรือกำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน
- ผลการเรียน GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม
ดาวน์โหลดได้ที่ https://bit.ly/3jT5mwX
จากผลสำรวจพบว่ามีนักเรียนจำนวนกว่า 60% เห็นว่าทุนการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากไม่มีทุนแล้ว ก็ไม่รู้จะเรียนต่ออย่างไร โดยเฉพาะนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีทุนสำหรับใช้จ่ายทางการศึกษา มิเช่นนั้นแล้ว ก็เสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาได้ (ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน โดย กสศ. เดือนพฤษภาคม 2564)
ดังนั้นจึงมีนักเรียนสมัครขอรับทุนการศึกษาเป็นจำนวนมาก มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ไม่ต่างจากการสอบเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาดี ๆ ในขณะที่ทุนการศึกษาแต่ละแห่งมีจำนวนจำกัดต่อรอบ ส่งผลให้นักเรียนที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ผ่านการคัดกรองในขั้นแรก และพิจารณากันต่อในรอบสัมภาษณ์ แล้วคุณครูจะมีวิธีการแนะนำนักเรียนของเราอย่างไรให้ได้รับการเรียกตัวเข้าไปพูดคุย
ในวันนี้ แอดมินนอกเหนือทุน กสศ. ขอนำเสนอวิธีการเพิ่มความน่าสนใจ และสร้างความได้เปรียบในการขอทุน ด้วย “6 เทคนิคปั้นแฟ้มงานขอทุน ที่นักเรียนของคุณ (ครู) ไม่ควรพลาด” ที่สามารถนำไปแนะนำนักเรียนให้เตรียมผลงานให้พร้อม ทั้งในห้องเรียนหรือห้องแนะแนวได้เลยค่ะ มีเทคนิคอะไรบ้าง ลองไปดูกันนะคะ
หน้าปกแฟ้มก็เหมือนประตูด่านแรก ควรจัดทำและออกแบบให้สะดุดตา โดดเด่น ข้อมูลไม่เยอะเกินไป ให้อ่านและสามารถ ทำความเข้าใจได้ง่าย หน้าปกแฟ้มควรแสดงข้อมูลเฉพาะที่สำคัญ ๆ เช่น ชื่อ–นามสกุล ระดับชั้นการศึกษาปัจจุบันของนักเรียน ชื่อสถานศึกษา รางวัลหรือผลงานเด่น ๆ ที่เคยทำและเคยได้รับมีอะไรบ้าง คุณครูอาจแนะนำให้นักเรียนเพิ่มรูปถ่ายที่เหมาะสมเข้าไปด้วย เพื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้น
นำเสนอข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนที่ต้องการขอรับทุน เช่น ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น วันเดือนปีเกิด สัญชาติ ศาสนา คติประจำใจ ช่องทางที่สามารถติดต่อได้ ได้แก่ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และโซเชียลมีเดียถ้าหากมี โดยคุณครูอาจช่วยนักเรียนจัดทำ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เข้าถึงทุนที่ตรงกับความต้องการได้มากขึ้น
ส่วนสำคัญที่ต้อง “ห้ามพลาด” เรียบเรียงให้ดีมีโอกาสได้ทุนสูง ให้เรียงลำดับประวัติการศึกษาจากระดับวุฒิที่สูงสุด (ปัจจุบัน) จนกระทั่งระดับต่ำสุด ในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงช่วงอดีต รายละเอียดที่ต้องระบุ มีดังนี้
พร้อมแนบใบระเบียนแสดงผลการเรียน และใบรับรองผลการศึกษาของแต่ละสถาบันที่เรียนจบมา
มีดีอะไร ใส่ไปให้หมด เรียงลำดับผลงานตัวอย่างและรางวัล ที่นักเรียนได้รับ โดยเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. ปัจจุบันไล่ลำดับลงจนถึงอดีต อาทิเช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ การประกวดร้องเพลง การแข่งขันกีฬา หรือทักษะทางวิชาการ ให้ระบุรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
เป็นส่วนสำคัญที่จะบ่งบอกได้ว่า นักเรียนมีทักษะ ความสามารถอะไรบ้าง ครูอาจช่วยคัดเลือกผลงานที่สอดคล้องกับแหล่งทุนที่ต้องการสมัครหรือตรงกับสาขาวิชา คณะ หลักสูตรที่ยื่นสมัครขอทุน เพราะส่วนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำแฟ้มสะสมผลงานเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นส่วนที่จะได้นำเสนอทักษะความสามารถที่อยู่ในตัวของนักเรียนและโน้มน้าวใจให้แหล่งทุนเห็นว่านักเรียนมีคุณสมบัติ และความเหมาะสมแค่ไหนที่จะได้รับทุนนั้น ๆ อาทิเช่น
นำเสนอความสามารถพิเศษเฉพาะตัวของนักเรียน ที่แตกต่างจากคนทั่วไป เพื่อสร้างความโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้น เช่น ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการพูดการเจรจา ถึงแม้ไม่มีก็ระบุเป็นความสามารถพิเศษทั่ว ๆ ไป อาทิ ร้องเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬา ชอบถ่ายภาพ อ่านหนังสือ ทำขนม อาหาร เป็นต้น และหากแนบรูปถ่ายขณะทำงานอดิเรกหรือผลงานที่เกี่ยวข้องไปด้วยจะดีมาก เพราะจะช่วยให้แหล่งทุนได้เห็นถึงความสามารถพิเศษ ที่โดดเด่นเฉพาะตัวของนักเรียน เพิ่มโอกาสให้ได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนนั้น ๆ มากขึ้น
นอกเหนือจากเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งสำคัญในการทำแฟ้มสะสมผลงานคือการเรียบเรียงเนื้อหาให้กระชับ เข้าใจง่ายและควรใส่ความเป็นตัวตนของนักเรียนลงไปอย่างสร้างสรรค์ผ่านการเล่าเรื่อง คุณครูอาจช่วยเรียบเรียงและตรวจสอบเพื่อความถูกต้องและเหมาะสม และควรเตรียมแฟ้มสะสมผลงานไว้ทั้งในรูปแบบเล่มแฟ้มและไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพื่อป้องกัน การสูญหาย และสะดวกต่อการจัดส่งได้อย่างรวดเร็ว เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนของเราไม่พลาดโอกาสที่จะเข้าถึงทุนการศึกษาอย่างแน่นอน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนการศึกษาอื่น ๆ นอกเหนือจากทุน กสศ.
โทร: 097-045-4410, 093-952-2939 (ในวันและเวลาทำการ 09.00-18.00 น.)